ใครจะรู้ว่าแค่อาหารธรรมดา ๆ ของคนหนึ่ง อาจเป็นอันตรายที่รุนแรงกับอีกคนหนึ่งได้
การแพ้อาหารแฝงอันตรายกว่าที่คิด หลายคนอาจมีอาการแพ้โดยไม่รู้ตัว เนื่องจากมักเป็นอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ผลกระทบต่อสุขภาพมากนัก หรืออาจอันตรายกว่าที่คิด เพราะทำให้เกิดโรคที่มักหาสาเหตุไม่ได้และมักเป็นเรื้อรัง อาหารที่รับประทานอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติทางผิวหนัง เช่น ผื่น คัน แดง หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น รวมถึง “สิว” ที่เป็นเรื้อรังจนเป็นปัญหาหนักใจของใครหลาย ๆ คน ความผิดปกติที่เกิดขึ้นบางครั้งอาจจะเกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไปและร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน หรือที่เราเรียกกันว่า “ภูมิแพ้อาหารแฝง” หรือ Food Intolerance
ภูมิแพ้อาหารแฝงคืออะไร ?
ภูมิแพ้อาหารแฝงจะต่างจากภูมิแพ้อาหารทั่วไป หรือแพ้อาหารเฉียบพลัน ซึ่งเป็นการแพ้ที่เกิดจากการกระตุ้น antibody ชนิด IgE (Immunoglobulin E) ทำให้เกิดการหลังฮิสตามีน จึงเกิดอาการผิดปกติที่เห็นได้ชัดแบบทันทีหรือไม่นานหลังจากรับประทานอาหารที่แพ้ เช่น ผื่น แดง บวม คัน หายใจลำบาก หรือปากบวม ตาบวม อาการเหล่านี้ทำให้ผู้ที่แพ้มักจะรู้ตัวว่าแพ้อาหารอะไร เพราะอาการมักปรากฎชัดเจนทุกครั้งที่รับประทานนั้น ๆ และสามารถหลีกการรับประทานอาหารชนิดนั้น ๆ ได้
แต่ภูมิแพ้อาหารแฝงจะเป็นการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานของร่างกายต่ออาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผิดปกติจะสังเกตได้ยากกว่า เนื่องจากไม่มีอาการแสดงให้เห็นทันที แต่จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายหลังจากที่เรารับประทานอาหารที่แพ้เข้าไปกระตุ้นให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายสร้าง antibody ชนิด IgG (Immunoglobulin G) ไปทำลายสารอาหารนั้น ๆ เนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายเข้าใจว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย และถึงแม้ว่า antibody ชนิดนี้จะไม่ทำให้เกิดการหลั่งฮีสตามีนที่ทำให้เกิดผื่นลมพิษ หรืออาการบวมของเยื่อบุต่าง ๆ ให้เห็นทันที เหมือนการแพ้แบบเฉียบพลันแต่หากร่างกายมีการทำงานของ antibody ชนิดนี้มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอาการในระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ ทั้งการปวดหัว ไมเกรน ปวดท้อง ลำไส้แปรปรวน รวมถึงอาการทางผิวหนัง เช่น สิวเรื้อรัง สิวยีสซ์ ผื่นรังแค เป็นต้น
ภูมิแพ้อาหารแฝง (IgG) ส่งผลอย่างไร
- สิวเรื้อรัง
- ผื่นรังแครังแคบยใบหน้าผิวแดงและลอกบริเวณที่มีต่อมไขมันหนาแน่น (Seborrheic dermatitis)
- ปวดศีรษะเรื้อรังไมเกรน
- ภาวะสมาธิสั้น
- คัดจมูกน้ำมูกไหลเรื้อรัง
- ท้องเสียลำไส้ระคายเคืองลำไส้อักเสบ
- ท้องผูกจุกเสียดแน่นท้อง
- น้ำหนักขึ้นง่ายท้องใหญ่
- ปวดกล้ามเนื้อ
- โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- การเตรียมตัวก่อนตรวจภูมิแพ้
- นัดหมายเพื่อรับการตรวจ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่ต้องงดน้ำอาหารและยา
- เข้ารับการเจาะเลือด
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะอธิบายผลการตรวจและแนะนำด้านโภชนการ